ถั่วแระ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus cajan (L.) มากมายความรู้
ถั่วแระ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus cajan (L.) Millsp. edamame (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cajanus indicus Spreng.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ประโยชน์ของถั่วแระ
- นอกจากจะนำมาใช้ในทางยาแล้ว ยังสามารถนำฝักมาตากแห้งแกะเอาเมล็ดออกมาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือนำไปขายเป็นสินค้าได้อีกด้วย
- ชาวปะหล่อง ขมุ และกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะนำผลถั่วแระมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
- ชาวปะหล่องถือว่ายอดอ่อนและดอกถั่วแระเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปะพรมน้ำมนต์หรือใช้ในพิธีปลูกเสาเอกของบ้าน
- ถั่วแระเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงครั่งได้ดี (ทั่วไปแล้วจะใช้สะแกนา ปันแก่ พุทราป่า ลิ้นจี่ และไทร ในการเลี้ยงครั่ง) เนื่องจากต้นถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง ปลูกง่าย ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี หลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 6-9 เดือน อีกทั้งเมล็ดถั่วแระยังให้โปรตีนสูง เจริญเติบโตแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อีกด้ว
- นอกจากนี้ยังมีการปลูกถั่วแระเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยลดการพังทลายของหน้าดินจากน้ำฝน ซึ่งถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งที่ราบและที่ลาดชัน
คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วแระ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 343 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 62.78 กรัม
- ใยอาหาร 15 กรัม
- ไขมัน 1.49 กรัม
- โปรตีน 22.7 กรัม
- วิตามินบี 1 0.643 มิลลิกรัม (56%)
- วิตามินบี 2 0.187 มิลลิกรัม (16%)
- วิตามินบี 3 2.965 มิลลิกรัม (20%)
- วิตามินบี 5 1.266 มิลลิกรัม (25%)
- วิตามินบี 6 0.283 มิลลิกรัม (22%)
- วิตามินบี 9 456 ไมโครกรัม (114%)
- วิตามินซี 0 มิลลิกรัม (0%)
- วิตามินอี 0 มิลลิกรัม (0%)
- วิตามินเค 0 ไมโครกรัม (0%)
- แคลเซียม 130 มิลลิกรัม (13%)
- ธาตุเหล็ก 5.23 มิลลิกรัม (40%)
- แมกนีเซียม 183 มิลลิกรัม (52%)
- แมงกานีส 1.791 มิลลิกรัม (85%)
- ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม (52%)
- โพแทสเซียม 1,392 มิลลิกรัม (30%)
- โซเดียม 17 มิลลิกรัม (1%)
- สังกะสี 2.76 มิลลิกรัม (29%)
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่